วิธีการทำกุ้งเทมปุระ

รูปภาพ

วัตถุดิบและสัดส่วน:

แป้งเทมปุระ

1. แป้งสาลี 1 ¼ ถ้วย
2. ไข่แดง 2 ฟอง
3. น้ำเย็น 2 ถ้วย

กุ้งเทมปุระ

1. กุ้งกุลาดำตัวกลางๆ 8 – 10 ตัว
2. แป้งเทมปุระที่ผสมเสร็จแล้ว 1/ 2 ถ้ว
3. แป้งสาลี 1 ช้อนโต๊ะ
4. หัวไชเท้าขูดหรือซอยเป็นฝอยๆ 1 ช้อนโต๊ะ
5. ขิงแก่ขูด 1 ช้อนชา
6. น้ำมัน สำหรับทอด

ขั้นตอนการปรุง:

1. กุ้งล้างให้สะอาดแกะเปลือก เด็ดหัวออก ผ่าหลังเอาเส้นดำออก บั้งท้องกุ้งตามแนวขวาง จากนั้นดัดให้ตัวกุ้งตรง
2. ผสมไข่แดงกับน้ำเข้าด้วยกัน ใช้ตะเกียบคนให้เข้ากัน จากนั้น ค่อย ๆ เทแป้งใส่ลงไป ใช้ตะเกียบคนพอเข้ากัน
3. นำกุ้งไปคลุกกับแป้งสาลี พักไว้ ตั้งกระทะใช้ไฟปานกลาง ใส่น้ำมันสำหรับทอดลงไป พอน้ำมันร้อน นำกุ้งที่คลุกกับแป้งสาลีแล้ว จุ่มลงไปในแป้งเทมปุระ ใส่ลงไปทอดในน้ำมัน จากนั้นให้ใช้มือจุ่มลงไปในแป้ง แล้วนำมาโรย(สะบัด) ลงบนตัวกุ้ง
4. ทอดจนมีสีเหลืองสวย (สีเหลืองนวล สีเหลืองอ่อนๆ) ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน จัดใส่จานกินกับหัวไชเท้าและขิงขูด พร้อมด้วยน้ำจิ้มเทมปุระ

ที่มา.http://th.openrice.com/recipe/detail.htm?recipeid=1745 

ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์

รูปภาพ

ทุก ๆ ปีเมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดอกกุหลาบสีแดง การ์ดอวยพร ของขวัญ และช็อกโกแลต จะถูกส่งอวยพรถึงกันและกัน ระหว่างคนที่มีความรักต่อกัน ไม่ใช่เพียงแต่คนหนุ่มสาว แต่ยังรวมถึงคนในครอบครัว หรือมิตรสหาย เพราะในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนับเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันแห่งความรัก หรือ วันวาเลนไทน์

ชื่อของ วาเลนไทน์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ วันแห่งความรัก นี้ได้อย่างไร ? และทำไมเดือนกุมภาพันธ์ จึง เป็นเดือนแห่งความรัก ?

ประวัติดั้งเดิมของ วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็น วันแห่งความรัก เกี่ยวพันทั้งกับประเพณีของชาวคริสเตียน และประเพณีดั้งเดิมของชาวโรมัน ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน ตามความรับรู้ของชาวคริสต์ วันวาเลนไทน์ มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนักบุญที่ชื่อ วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส อย่างน้อย 3 คน ซึ่งทุกคนเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์ทั้งสิ้น

ตำนานหนึ่งเล่าว่า วาเลนไทน์ เป็นนักบวชที่มีชีวิตอยู่ในกรุงโรม ในช่วงศตวรรษที่ 3 ของปีคริสตศักราช ในช่วงที่จักรพรรดิ คลอดิอุส 2 ปกครองกรุงโรม พระองค์เห็นว่า ผู้ชายที่เป็นโสด จะทำหน้าที่ทหารได้ดีกว่าชายที่มีภรรยาและครอบครัว พระองค์จึงทรงออกกฎหมายห้ามมิให้ผู้ชายในวัยหนุ่มแต่งงาน เพื่อที่จะกะเกณฑ์ชายหนุ่มที่ยังไม่แต่งงานเหล่านี้มาเป็นทหาร นักบวช วาเลนไทน์ ไม่เห็นด้วยกับจักรพรรดิ คลอดิอุส และเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม จึงยังคงลักลอบทำพิธีแต่งงานให้กับคนหนุ่มสาวที่มีความรักต่อไป เมื่อการกระทำของ นักบวชวาเลนไทน์ ล่วงรู้ถึงหูของจักรพรรดิ คลอดิอุส พระองค์จึงสั่งให้จับกุมและให้ประหาร นักบวชวาเลนไทน์ เสีย

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า นักบวชวาเลนไทน์ ถูกประหารเพราะพยายามที่จะช่วยเหลือชาวคริสเตียนให้หนีออกจากคุกของพวกโรมัน ซึ่งเวลานั้น ผู้ที่เป็นคริสเตียนจะมีความผิด ต้องถูกนำไปคุมขัง และทรมานด้วยการเฆี่ยนตี

 รูปภาพ

ตำนานที่สามเล่ากันว่า นักบวช วาเลนไทน์ คือผู้ที่ส่ง บัตร “ วาเลนไทน์ ” เป็นคนแรก ในขณะที่นักบวช วาเลนไทน์ ถูกจำคุกอยู่นั้น เขาตกหลุมรักกับหญิงสาวคนหนึ่ง นางเป็นลูกสาวของผู้คุมที่คุกแห่งนั้น ซึ่งนางเข้าไปเยี่ยมในระหว่างที่นักบวชผู้นี้กำลังนอนป่วย ก่อนที่จะถูกประหาร เขาได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงนาง และลงท้ายจดหมายว่า “ จาก วาเลนไทน์ ของเธอ ” ซึ่งเป็นวลีที่ยังใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าความจริงเกี่ยวกับนักบวช วาเลนไทน์ จะเป็นตำนานที่ค่อนข้างสับสน แต่ทุกตำนานก็เป็นเรื่องของความเห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์ ความกล้าหาญ และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของ ความรัก จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ในยุคกลางของยุโรป(ประมาณศตวรรษที่ 5 ถึงศตวรรษที่ 16 ของปีคริสตศักราช) นักบุญ วาเลนไทน์ จะเป็นหนึ่งในนักบุญที่ได้รับความศรัทธามากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษและฝรั่งเศส

ขณะที่บางคนเชื่อว่า วันวาเลนไทน์ คือวันรำลึกถึงการเสียชีวิต หรือวันทำพิธีฝังศพของนักบุญ วาเลนไทน์ ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจจะเริ่มมาตั้งแต่ประมาณปีคริสตศักราช 270 ในบางความเชื่อกล่าวว่า พิธีแสดงความรักต่อนักบุญ วาเลนไทน์ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นประเพณีที่เพื่อแสดงความเป็น คริสเตียน ของนักบวชในศาสนาคริสต์ เพื่อที่จะมาทดแทนเทศกาล ลูเปอร์คาเลีย (Lupercalia) ของชาวโรมันในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่แสดงความรักต่อเทพเจ้าฟอนนัสของชาวโรมัน ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรม และเทพเจ้ารอมมิวนัส และเทพเจ้าเรมัส เทพเจ้าผู้สร้างกรุงโรม

พิธีเริ่มต้นโดยพวกสมาชิกของ ลูเปอร์ซิ และนักบวชโรมัน ไปชุมนุมกันที่ถ้ำอันศักดิ์ของพวกเขา ซึ่งเป็นที่กำเนิดของเทพเจ้า รอมมิวนัส และ เรมัส ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้สร้างกรุงโรม และเติบโตขึ้นจากการเลี้ยงดูและดื่มนมจากหมาป่า หรือ ลูปา พวกนักบวชโรมันจะทำการฆ่าแพะบูชายัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ และฆ่าสุนัขบูชายัญเพื่อความบริสุทธิ์

 รูปภาพ

จากนั้นเด็กหนุ่ม ๆ จะทำการแล่หนังของแพะออกเป็นชิ้นยาว ๆ นำไปจุ่มในเลือดศักดิ์สิทธิ์ ถือไปตามถนน นำไปแตะที่ตัวผู้หญิง และถือไปตามท้องไร่ท้องนาต่าง ๆ ผู้หญิงโรมันจะเต็มใจให้นำเอาหนังแกะสดที่ชุ่มไปด้วยเลือดมาแตะตามตัว เพราะเชื่อว่าจะนำเอาความอุดมสมบูรณ์มาสู่กรุงโรม จากนั้นในรุ่งขึ้นอีกวัน หญิงสาวชาวเมืองจะพากันเอาชื่อของนางใส่ลงในหม้อขนาดใหญ่ เพื่อให้ชายโสดทั้งหลายมาเลือกชื่อพวกนางจากหม้อใบนี้ และก็เป็นคู่กันไปตลอดทั้งปี ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะลงเอยด้วยการแต่งงานกัน สันตะปาปา เกลาเซียส ได้ประกาศเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันนักบุญวาเลนไทน์ เมื่อประมาณปีคริสตศักราช 498 การเลือกคู่แบบโรมัน กลายเป็นสิ่งที่ “ ไม่ใช่คริสเตียน ” และผิดกฎ ต่อมาในสมัยยุคกลางของยุโรป ได้กลายเป็นความเชื่อของคนในอังกฤษและฝรั่งเศสว่า 14 กุมภาพันธ์ เป็นการเริ่มต้นฤดูผสมพันธุ์ของ “ นก ” แล้วก็กลายเป็น วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็น วันแห่งความรัก

เรื่องราวของ วาเลนไทน์ ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังมีหลักฐานหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน คือบทกวีที่เขียนโดย ชาร์ลส ขุนนาง แห่ง ออร์ลีนส์ ซึ่งเขียนให้กับภรรยาของเขาขณะถูกคุมขังในหอคอยกรุงลอนดอน เนื่องจากถูกจับกุมในระหว่างสงคราม อะจินคอร์ต บทกวีชิ้นนี้เขียนขึ้นเมื่อปีคริสตศักราช 1415 ถูกเก็บไว้ในห้องสมุด บริติช แห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และหลายปีต่อมา เชื่อกันว่า พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ได้จ้างวานให้กวีที่ชื่อ จอห์น ไลด์เกต ประพันธ์บทกวี วาเลนไทน์ ให้กับ แคทเธอรีน แห่ง วาโลอิส ในอังกฤษ เทศกาล วันวาเลนไทน์ ได้รับความนิยม มาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 17 ของปีคริสตศักราช

คิวปิด หรือ กามเทพ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักของชาวโรมัน ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ อันหนึ่งของ วันวาเลนไทน์ เนื่องจาก คิวปิด เป็นบุตรของเทพธิดา วีนัส ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งความรัก และความงามของชาวโรมัน และมักจะปรากฏอยู่บน บัตรอวยพร วันวาเลนไทน์ อยู่เสมอ

กลางศตวรรษที่ 18 เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับผู้ที่เป็นคนรักกัน หรือ แม้แต่มิตรสหาย ทุกชั้นชน ที่จะแลกเปลี่ยนของขวัญชิ้นเล็ก ๆ หรือส่งจดหมายถึงกัน

จนถึงยุคปัจจุบัน ก็ได้กลายเป็นการส่งบัตรอวยพร การซื้อของขวัญ และการมอบขนมและช็อกโกแลต ให้แก่กัน และจนถึงวันนี้การส่งอีเมล์ และ เอสเอ็มเอส เพื่ออวยพรเนื่องใน วันวาเลนไทน์ ก็อาจจะเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดอีกสื่อหนึ่ง

สถิติของยุโรปและอเมริกา พบว่า ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ที่ใช้จ่ายเพื่อ วันวาเลนไทน์ จะเป็นสตรี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของ บัตรอวยพร ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นการอวยพรเฉพาะคู่รักเท่านั้น เพราะในวันวาเลนไทน์นี้จะสามารถแสดงออกความรักต่อใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมงาน

 รูปภาพ

ที่มา.http://www.fourbears2002.com/index.php?option=com_content&view=article&id=62:-&catid=7&Itemid=25

ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง

รูปภาพ

ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง

เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม
ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า “แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน”

   ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า

   “ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง”

    ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย

     ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว

รูปภาพรูปภาพ

เรื่องน่ารู้ใน วันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
          1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
          2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
          3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
          4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
          5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
          6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
          7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย
          การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

การลอยกระทงในปัจจุบัน
          การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา
ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

เหตุผลของการลอยกระทง
สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
          1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในนำด้วย
          2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
          3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
          4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้ การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง

     การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเทศกาล “สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะมีกิจกรรมเด่น ในหลายพื้นที่ เช่น งานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร, ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย, ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงฯ จังหวัดตาก และประเพณี ลอยกระทงตามประทีป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์งานประเพณีลอยกระทงให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (World Events) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวตลอดเดือนต่อไป

 

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณี อันดีงามของไทย(โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงของแต่ละท้องถิ่น) ไว้สืบทอดต่อไป
๒. เพื่อส่งเสริมให้งานประเพณีลอยกระทง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเสนอในรายการนำเที่ยวเป็นประจำทุกปี ในอนาคตอย่างยั่งยืน
๓. เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและรายได้ พร้อมทั้งขยายวันพักของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
๔. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง และการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน

 

รูปภาพ

ที่มา.http://www.loikrathong.net/th/History.php

 

ประวัติงานประเพณีแห่เทียนพรรษา

รูปภาพ

ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล       ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่   เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ

ในช่วงปี พ.ศ.2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น

ใน พ.ศ.2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์

ครั้น พ.ศ.2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน  นายประดับก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ

ประมาณปี พ.ศ.2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน

พ.ศ.2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา  ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา  ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา   ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวด    ขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก

การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก

ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทำเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดยนายคำหมา แสงงาม ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 หลังจากหล่อและกลึงต้นเทียนแล้ว จะเริ่มแกะสลักต้นเทียนด้วยขั้นตอน ดังนี้

ออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยการ่างทั้งส่วนฐานลำต้นและยอดเทียน ใช้เครื่องมือแกะสลักซึ่งจะมีการเซาะ เจาะ ขีด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ เหมือนของจริง หรือรูปที่ร่างไว้ตามจินตนาการ แก้ไขส่วนที่บกพร่องในระหว่างการแกะสลัก อาจมีการผิดพลาดได้ เช่น รูปที่แกะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป หรือบางส่วนแตกหัก ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักต้นเทียน

1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่างๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียวและโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว

2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลยตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง

3. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน

4. แปรงทาสีชนิดดี

 รูปภาพ

การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์

การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มีขั้นตอนและวิธีการคล้ายกันกับการหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลักทุกขั้นตอน แต่มีความแตกต่างกัน 2 ประการ คือ

การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพพอใช้ได้ซึ่งมีราคาถูก แต่การหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลัก ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพดี และราคาแพงกว่า ทั้งนี้ ก็เพราะว่า หากขี้ผึ้งคุณภาพไม่ดี เมื่อแกะสลักลึกและซับซ้อนหลายขั้น ขี้ผึ้งจะแตกหัก

ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มักหล่อให้มีขนาดเล็กกว่าต้นเทียนประเภทแกะสลัก เพราะการหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ จะต้องนำไปกลึงให้เป็นรูปและขนาดเล็กลงบางส่วน แล้วจึงติดดอกเสริมโดยรอบให้หนาขึ้น ส่วต้นเทียนประเภทแกะสลัก ต้องทำให้มีขนาดใหญ่เอาไว้ เพื่อที่จะแกะสลักหรือขูดออก

งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี นอกจากจะเป็นงานที่แสดงออกถึง การยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพระพุทธศาสนา อย่างเคร่งครัดของชาวเมืองอุบลฯ แล้ว ยังเป็นงานที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของสกุลช่างเมืองอุบลฯ อีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจาก บรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลฯ ที่มีอยู่มากมายหลากหลายแขนง และผลิตงานด้านศิลปอย่างต่อเนื่องตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปร่วมสมัย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน และงานก่อสร้างตกแต่งโบสถ์วิหารต่างๆ จะใช้โอกาสในช่วงเทศกาลนี้กลับมาทดสอบ ทดลอง และประลองฝีมีเชิงช่าง โดยผ่านต้นเทียนพรรษา ดังนั้น ผู้ที่มาร่วมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี จึงสามารถชื่นชม และศึกษากิจกรรมของงาน ทั้งในด้านการสืบสานจารีตประเพณีพื้นเมือง และในด้านศิลปการตกแต่งต้นเทียนกิจกรรมภายในงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1. เยือนชุมชน ชมวิถีวัฒนธรรมการตกแต่งต้นเทียน

การไปเยือนชุมชน หรือ คุ้มวัดต่าง ๆ ในช่วงที่กำลังเตรียมการตกแต่งต้นเทียน คือในช่วงประมาณ 2-3 วัน ก่อนวันแห่นั้น นอกจากผู้มาเยือนจะได้ศึกษากรรมวิธีและขั้นตอน การตกแต่งเทียนอันเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นแล้ว ยังจะได้สัมผัสบรรยากาศการร่วมแรงร่วมใจ ของชุมชนในการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สำคัญของชาวอุบลฯ สำหรับคุ้มวัดที่น่าสนใจ เช่น วัดบูรพา วัดหนองบัว วัดสว่างอารมณ์ วัดศรีประดู่ทรงธรรม วัดสุทัศวนาราม วัดทุ่งศรีเมือง และวัดผาสุการาม เป็นต้น

2. การเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชาที่วัดงามในเมืองอุบลฯ

การเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาจัดขึ้นในช่วงค่ำของ ตามวัดต่างๆ โดยทั่วไปกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่จะได้ชื่นชมเอกลักษณ์ ทางสถาปัตยกรรมพื้นเมือง อันงดงามตามวัดต่างๆ ในอีกมิติหนึ่ง

3. การตั้งแสดงต้นเทียนรอบทุ่งศรีเมือง

ในช่วงค่ำของวันอาสาฬหบูชา จะเป็นเวลาที่ต้นเทียน พรรษาจากคุ้มวัดต่างๆ กว่า 30 ต้น จะถูกเคลื่อนย้ายมาตั้งไว้ ณ บริเวณถนนรอบๆ ทุ่งศรีเมือง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมขบวนแห่ในเช้าวันรุ่งขึ้น ในช่วงนี้ ต้นเทียนจะได้รับการตกแต่งอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับสถานที่ตั้ง จะได้รับการจัดเตรียมไว้อย่างดี เช่น การเตรียมแสงไฟ ไว้สาดส่องต้นเทียน การประดับประดาบริเวณงาน อย่างเป็นระเบียบ ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็น ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ในการชื่นชมศิลปการตกแต่งเทียนอย่างละเอียดละออ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงศิลปะตกแต่งเทียนที่งดงาม และสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย

รูปภาพ

4. กิจกรรมขบวนแห่เทียนพรรษา

จะจัดขึ้นในวันรุ่งขึ้น คือวันเข้าพรรษา ตั้งแต่เวลา ประมาณ 08.00 น. เป็นต้นไป โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนอุปราช ผ่านหน้าศาลากลาง ไปถนนชยางกูร เป็นระยะทางประมาณ2-3 กม. จึงสลายขบวน รูปแบบของการจัดขบวนประกอบด้วย ขบวนเทียนหลวงพระราชทาน ขบวนต้นเทียนของคุ้มวัดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละขบวนจะประกอบด้วยการแสดง การละเล่น การฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรีในรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การเข้าชมขบวนแห่ ่คณะกรรมการจัดงาน จะจัดเตรียมอัฒจันทร์นั่งชมไว้บริการ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด อัตราค่าบริการประมาณท่านละ200 บาท ส่วนการเข้าชมขบวนตามจุดอื่นๆ นั้นสามารถชมได้ตามอัธยาศัยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ขบวนดังกล่าวปกติจะเสร็จสิ้นในช่วงบ่าย

 รูปภาพ

ที่มา…..http://www.tatubon.org

 

ประเพณีบุญข้าวจี่

รูปภาพรูปภาพ

วัฒนธรรมประเพณี เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น ที่ผ่านการเพาะบ่มด้วยกาลเวลา สะท้อนให้เห็นรากเหง้า การดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป กลายเป็นวัฒนธรรมของสังคมที่ลูกหลานไปร่วมกันสืบสานต่อมาจวบจนปัจจุบัน ภายใต้ความเชื่อที่แฝงไว้ด้วย ความงดงาม สามัคคี ฮักแพง แบ่งปันกันอย่างเอื้ออาทรให้เกิดขึ้นในจิตใจ ของผู้คนในสังคม กลายเป็นขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมจารีตประเพณีของท้องถิ่น

ประเพณีบุญข้าวจี่ ปิดทองบวงสรวงหลวงพ่อพระไชยเชษฐา นับว่าเป็นประเพณีเก่าแก่อีกอย่างหนึ่งของชาวบ้านในพื้นที่ของอำเภอสุวรรณ คูหา ซึ่งได้จัดขึ้นที่บริเวณ วัดถ้ำสุวรรณคูหา บ้านคูหาพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ถือเป็นงานประเพณีที่สำคัญของชาวอำเภอสุวรรณคูหา จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 13 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือน 3 เพื่อเป็นการสักการะบวงสรวง “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างในอดีต ซึ่งเล่าขานสืบต่อกันมาว่า เป็นผู้บุกเบิกก่อตั้ง วัดถ้ำสุวรรณคูหาแห่งนี้ และสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นประจำวัด ปางมุจรินทร์ หรือปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก, สูง 6 ศอก (กว้าง 2.30 เมตร, สูง 3.20 เมตร) หรือรู้จักกันโดยทั่วไปในนาม “หลวงพ่อพระไชยเชษฐา” ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวอำเภอสุวรรณคูหาให้ความเคารพนับถือมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การจัดงานในปีนี้ นอกจากเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่นให้คงอยู่ สืบไปแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยกระดับสถานที่ท่องเที่ยว วัดถ้ำสุวรรณคูหา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพุทธ เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอื่นๆของอำเภอสุวรรณคูหา ได้แก่ ธรรมชาติอันสวยงามของภูซาง ภูผายา และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอื่น ๆของจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดใกล้เคียง เป็นการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเพื่อสักการบูชาหลวงพ่อ พระไชยเชษฐา และพระพุทธรูปทองคำเก่าแก่อายุหลายร้อยปีซึ่งขุดค้นพบได้หลายองค์ในบริเวณ วัดแห่งนี้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นอันสืบเนื่องมาจากอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว

สำหรับการจัดงานประเพณีบุญข้าวจี่ปิดทองบวงสรวงหลวงพ่อพระไชยเชษฐา ประจำปี พ.ศ.2552 องค์การบริหารส่วนตำบลนาสี เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ 7 ถึงวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 รวม 3 วัน 2 คืน นอกจากการสมโภชบวงสรวงในงานพิธีเปิดแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย อาทิเช่น การประกวดขบวนแห่ข้าวจี่ยักษ์ จำนวน 9 ขบวน จากทุก อบต.และเทศบาลในพื้นที่ การแข่งขันกินข้าวจี่ การจัดกิจกรรมถนนข้าวจี่ การประกวดหมอลำกลอนพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง การแข่งขันการชกมวยไทยเพื่อการกุศลหาทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนเรียนดีแต่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ การประกวดวงดนตรีนักเรียนประเภทโฟล์กซอง การแสดงของวงดนตรี-หมอลำ หมอลำซิ่ง และวงดนตรีลูกทุ่ง เป็นต้น

นอกจากนั้น ชาวบ้านยังได้มีการนำข้าวสาร จำนวนมากถึง 4 กระสอบ น้ำหนัก 400 กิโลกรัม มานึ่งแล้วทาด้วยไข่ไก่ 2552 ฟอง ซึ่งขนาดของข้าวจี่นี้จะมีขนาดใหญ่มากกว่าข้าวจี่ที่ชาวบ้านทำรับประทานหรือ ขายกันทั่วไป แต่เป็นข้าวจี่ยักษ์ไว้เป็นของส่วนรวม ขนาดเส้นผ้าศูนย์กลาง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร โดยให้วงล้อขนาดใหญ่มาเป็นตัวหมุน ซึ่งข้าวจี่นี้ เมื่อได้ทำเสร็จแล้ว จะมีการนำไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ตามประเพณีบุญเดือนสามหรือบุญข้าวจี่ที่ชาวอีสานโดยทั่วไป

สำหรับข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุขแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ดขนาดใหญ่หรือ ผลมะตูมขนาดกลาง ปั้นให้แน่นแล้วทาเกลือให้ทั่วเสียบใส่ไม้ย่างไฟหรือจะย่างบนตะแกรงเหล็กก็ ได้ด้วยถ่านไฟพลิกไปมาให้สุกเหลืองพอดีจนทั่วจึงเอาออกมาทาด้วยไข่ ซึ่งไข่นั้นจะต้องตีให้ไข่ขาวและไข่แดงเข้ากันดีแล้วทาจนทั่วปั่นข้าวเอาไป ย่างไฟให้สุกอีกทีหนึ่ง บางแห่งนิยมใส่น้ำอ้อยด้วย ดังคำโบราณที่ว่า “ เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั่นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา ”

จากเหตุที่ชาวอีสานได้สืบสานประเพณีบุญข้าวจี่กันมาอย่างต่อเนื่องนั้น มูลเหตุและความเป็นมา เหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม นั้นน่าจะเป็นเวลาที่ชาวนาหมดภาระในการทำนาและข้าวขึ้นยุ้งฉางใหม่ จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ ส่วนมูลเหตุดังเดิมที่จะมีการทำบุญข้าวจี่มีเรื่องเล่าว่า ในพระธรรมบทว่า มีหญิงคนหนึ่งชื่อนางปุณณทาสี เป็นคนยากจนต้องไปเป็นทาสีรับใช้ของเศรษฐีคนหนึ่งใน กรุงราชคฤห์ วันหนึ่งเศรษฐีให้นางไปซ้อมข้าว นางซ้อมตลอดวันก็ไม่หมด ตกตอนเย็นนางก็จุดไฟซ้อมต่อไป ได้รับความเหน็ดเหนื่อยเป็นอันมาก พอถึงตอนเช้ามานางก็เอารำทำเป็นแป้งจี่ เผาไฟให้สุกแล้วใส่ไว้ในผ้าของตนเดินไปตักน้ำปรารถนาจะบริโภคด้วยตนเอง

ครั้นถึงกลางทางได้พบพระศาสดาเกิดความเลื่อมใส คิดว่าเราเป็นคนยากจนในชาตินี้ ก็เพราะมิได้ทำบุญไว้แต่ปางก่อนและชาตินี้เราก็ยังไม่เคยทำบุญเลย เมื่อคิดเช่นนั้นแล้วนางก็น้อมเอาข้าวแป้งจี่นั้นเข้าไปถวายแด่พระศาสดา พระองค์ทรงรับแล้ว และนางคิดอีกว่าพระศาสดาคงไม่เสวย เพราะอาหารเศร้าหมอง เมื่อพระศาสดาทรงทราบวารจิตของนางเช่นนั้น พระองค์จึงประทับเสวยต่อหน้าของนาง ครั้นเสวยเสร็จแล้วก็ตรัสอนุโมทนากถาโปรดนางจนสำเร็จโสดาปัตติผล เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้นางไปเกิดบนดาวดึงส์สวรรค์เสวยทิพย์สมบัติ อยู่ในวิมานทองอันผุดผ่องโสภา มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นยศบริวาร ดังนั้น ชาวนาเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจึงพากันทำบุญข้าวจี่ เพราะถือว่าการถวายข้าวจี่มีอานิสงฆ์มาก

 ที่มา.http://www.baanjomyut.com/library/boonkaoji/index.html

10 เคล็ดลับ ทำให้หน้าคุณสวยใสปิ๊งๆ ด้วยตัวเอง

รูปภาพ

           ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ ทั้งบำรุงผิวหน้า ทำให้ผิวหน้าขาวขึ้น กระชับริ้วรอย มักจะทำมาจากวัสดุที่ได้จากธรรมชาติที่คุณๆ รับประทานและเห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ….. แล้วทำไมเราไม่นำวัตถุดิบเหล่านั้นมาใช้โดยตรงด้วยตัวคุณเอง เพื่อให้ได้รับสุขภาพผิวที่คุณต้องการ วันนี้ sbs.in.th มี 10 เคล็ด (ไม่) ลับหน้าใส ด้วยตัวคุณเองมาฝากจากธรรมชาติกัน

1. นำผ้าไปแช่ในน้ำอุ่น นำมาโปะไว้ที่หน้าเพื่อเปิดรูขุมขนของเรา จากนั้นใช้น้ำผึ้งทาลงบนใบหน้าทิ้งไว้ 15-30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำอุ่น และนำผ้าที่แช่ด้วยน้ำเย็นมาเช็ดทำความสะอาด

2. ใช้ไข่แดงดิบทาลงบนใบหน้าและลำคอทิ้งไว้ 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น

3. ใช้ไข่ขาวมาพอกหน้า รอจนไข่ข้าวแห้งจนมีสีขาว คุณจะรู้สึกอุ่นๆ บนผิวหน้า

4. วิธีที่ง่ายๆ อีกวิธีคือใช้ผลองุ่นเพียงครึ่งลูก ถูลงบนใบหน้าจนน้ำจากองุ่นซึมเข้าผิวหน้า แล้วค่อยล้างด้วยน้ำสะอาด

5. นำกล้วยสุกมาบดจนละเอียดแล้วนำไปพอกใบหน้าของคุณ ทิ้งไว้ 15-30 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น

6. โยเกิร์ตที่เราคุ้นเคยที่สามารถฟื้นฟูความชุ่มชื้นของผิวหน้าได้ดี นำมาพอกหน้าใช้เวลา 15-20 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

7. ถ้าหากริมฝีปากของคุณแห้งและแตกใช้คุณใช้น้ำมันมะกอกทางที่ริมฝีปากของคุณให้ชุ่มชื้นก่อนนอน

8. นำอะโวคาโดบดให้ละเอียดและนำไปพอกหน้า ใช้เวลา 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด อโวคาโดเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและยังช่วยฟื้นฟูผิวของเราได้อย่างดี

9. เตรียมนมสดหรือนมจืด ใส่ในแก้วเล็กๆ นำคอตตอนบัดจุ่มนมจืดในชุ่ม เช็ดให้ทั่วไปหน้าจนกว่าคุณจะรู้สึกว่าผิวหน้ากระชับ แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น คุณจะรู้สึกว่าผิวหน้าของคุณนุ่มขึ้น

10. ใช้ Baking Soda ในการช่วยผลัดผิวที่ตายแล้วบนใบหน้าของคุณได้นะคะ

 

ที่มา.http://www.sbs.in.th/10-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AA/

สูตรและวิธีการทำสบู่สมุนไพรขมิ้นชันจากชาววัง

รูปภาพรูปภาพ

สูตรสบู่ สมุนไพรขมิ้นชันจากชาววัง สูตรนี้เป็นการนำเอาเหง้าของขมิ้นชันมาผสมผสานเข้าไปในเนื้อของสบู่ที่ทำ ขึ้น การนำเอาเหง้าขมิ้นชันมาเป็นส่วนผสมสำคัญของสมุนไพรนี้ สืบทอดองค์ความรู้ที่สะสมมาจากบรรพบุรุษไทยเรา การเอาเหง้าขมิ้นชันมาเป็นยาธรรมชาติบำรุงผิวพรรณ ช่วยสร้างความสะอาดหมดจดแก่ผิวหนังของคนเรา สร้างความนุ่มนวลและขจัดความหม่นหมองของผิวกาย ฆ่าเชื้อรา เชื้อโรค ที่มาอยู่กับผิวหนังให้หมดไป สร้างความสดชื่นให้เกิดขึ้น สบายเนื้อสบายตัวอย่างดีมาก สบู่สมุนไพรขมิ้นชันจึงมีคุณภาพที่ดีเยี่ยมอีกอย่างหนึ่ง

ส่วนผสมของสบู่สมุนไพรขมิ้นชัน จากชาววัง

น้ำสมุนไพรเหง้าขมิ้นชันข้มข้น   450 กรัม

โซเดียมไฮดรอกไซด์บริสุทธิ์   180 กรัม

น้ำมันมะพร้าว   360 กรัม

น้ำมันมะกอก   630 กรัม

น้ำมันรำข้าว   420 กรัม

วิธีทำสบู่สมุนไพรขมิ้นชัน จากชาววัง

เริ่ม ต้นจากการนำเอาน้ำมันมะพร้าวมารวมกับน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว มาผสมรวมกันทั้งหมดในภาชนะ คนให้ละลายรวมเข้าด้วยกันทั้งหมด จึงเอาไปต้มจนกระทั่งอุณหภูมิความร้อน 100 องศาฟาเรนไฮต์ ยกเอาลงมาพักไว้ก่อน

ต่อ มาก็เอาโซเดียมไฮดรอกไซต์อย่างระมัดระวังอย่างมาก เพราะเป็นด่างที่เข้มข้นร้อนแรงมาก เอาโซเดียมไฮดรอกไซต์ค่อย ๆ ใส่ลงไปในภาชนะสเตนเลสสตีลที่มีน้ำสมุนไพรขมิ้นชันเข้มข้นทีละเล็กที่ละน้อย คนให้ละลายเข้าด้วยกันทั้งหมด

ลำดับ ต่อมาเอาโซเดียมไฮดรอกไซต์ที่ผสมกับน้ำสมุนไพรขมิ้นชันเข้มข้นมาค่อย ๆ เทลงไปในน้ำมันที่ผสมรวมกันอยู่ คนให้เข้าด้วยกัน คนให้เข้ากันให้ดีที่สุด เมื่อรวมตัวกันอย่างดีแล้วจะสังเกตุเห็นว่ามีลักษณะที่เหนียวข้นมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือเนื้อสบู่สมุนไพรนั่งเอง

เอามาเทในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ ถ้าทำใช้เองไม่ต้องมีแม่พิมพ์ก็เอามาใส่ลงไปในถาด แล้วเอามาตัดเป็นก้อนเป็นแผ่นทีหลัง

ปล่อย เอาไว้เฉย ๆ ในห้องที่มีอุณหภูมิตามธรรมดาประมาณ 1 วัน 1 คืน หรือประมาณ 24 ชั่วโมง จึงเอาออกมาจากแม่พิมพ์ได้ เอาวางเรียงไว้เฉย ๆ หาอะไรคลุมไว้ด้วยเพื่อไม่ให้กลิ่นหอมของของขมิ้นชันระเหิดออกไปมาก และจะต้องปล่อยทิ้งเอาไว้ประมาณ 45วัน เพื่อให้เนื้อสบู่แข็งตัวคงที่นั่งเอง

นำสบู่ที่ได้มาห่อด้วยกระดาษแก้วหรือพลาสติก หรือใส่กล่องพร้อมใช้

ข้อควรระวังและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ    สบู่สมุนไพรขมิ้นชัน จากชาววัง

การ ทำสบู่สมุนไพรขมิ้นชัน ควรระมัดระวังในเรื่องของการเอาโซเดียมไฮดรอกไซต์มาผสมกับน้ำ เพราะจะเกิดความร้อนแรงพลุ่งพล่านจนน้ำเดือดขึ้นมา เนื่องจากโซเดียมไฮดรอกไซต์มีฤทธิ์เป็นด่างอย่างแรงมากนั่งเอง ค่อย ๆ ผสมที่ละเล็กที่ละน้อย อย่าทำด้วยความประมาณหรือไม่ระมัดระวังตัวเอง หรือเด็กที่อยู่ใกล้ ๆ สารเคมีตัวนี้ และควรเก็บให้ห่างจากเด็ก ๆ

ควร สวมถุงมือยางป้องกัน และสวมรองเท้ายางหุ้มมาถึงแข้งป้องกันเอาไว้ ต้องปิดปากและจมูกด้วยหน้ากากป้องกันกลิ่นและไอระเหยที่ออกมาจากสารเคมีอัน เป็นด่างอย่างแรงนี้ด้วย ควรสวมแว่นตาเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันการกระเด็นของสารเคมีที่อาจจะเกิดขึ้น

ต้อง เอาขวดน้ำส้มสายชู ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดวางไว้ใกล้ ๆ เพื่อใช้การได้ทันทีทันใด ถ้าโซเดียมไฮดรอกไซต์กระเด็นมาสัมผัสผิวกายหรือหกรดราดไปที่เท้า ขา แขน ฯลฯ หากเกิดอันตรายเช่นนี้ขึ้นมา ต้องรีบเอาน้ำส้มสายชูกลั่นนี้ราดลงไปในบริเวณที่ถูกสารเคมีอันมีฤทธิ์เป็น ด่างอย่างแรงทันทีเพื่อขจัดอาการร้อนแรงนั้นลงหลังจากการใช้น้ำส้มสายชูแล้ว หากปวดแสบปวดร้อนมาก ควรรีบไปหาแพทย์ในทันที

วิธีการทำน้ำขมิ้นชันเข้มข้น

นำเหง้าขมิ้นชันมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ได้ปริมาณ 500 กรัม ล้างให้สะอาดแล้วใส่ลงไปในน้ำสะอาด 7 ถ้วยตวง นำไปต้มเคี่ยวจนเหลือน้ำสมุนไพรขมิ้นชันที่เข้มข้นเพียง 2 ถ้วยตวง เราก็จะได้น้ำขมิ้นชันเข้มข้นพร้อมที่จะนำไปผสมการทำสบู่

สรรพคุณของขมิ้นชัน

ขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมใช้กันมาช้านานแล้วและนำมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ อย่างมากมาย ทั้งในรูปแบบของยา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สีผสมอาหาร สีย้อมผ้าและเตรื่องสำอาง ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของน้ำมันหอมระเหย และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น ฤทธิ์ในการช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบ  ฯลฯ ทำให้สมุนไพรนี้ได้รับความสนใจทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศอย่างมาก

ที่มา.http://www.yesspathailand.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B2/%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87.html

ผัดมักกะโรนีซอสมะเขือเทศ

รูปภาพ

วัตถุดิบและสัดส่วน:

1. กุ้งสด ตามชอบ
2. เส้นมะกะโรนี 1 ถ้วย
3. หอมใหญ่ซอยบางๆ 1 หัว
4. มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ไว้ 2 ลูก
5. เนย (ใช้เนยสดชนิดจืดหรือเค็มก็ได้) 1 ช้อนโต๊ะ
6. ซอสมะเขือเทศ 1/2 ถ้วย
7. ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
8. พริกไทย 1/2 ช้อนชา
9. น้ำตาล เล็กน้อย
10. น้ำซุป 2 ช้อนโต๊ะ
12. เกลือ เล็กน้อย

ขั้นตอนการปรุง:

1. กุ้งแกะเปลือกโดยเหลือหางไว้ ผ่าหลังเอาเส้นดำออก แล้วลวกพอสุก
2. ต้มน้ำใส่เกลือป่นลงไปเล็กน้อย พอน้ำเดือด ใส่เส้นมะกะโรนีลงไปต้ม ต้มจนเส้นนุ่ม ตักขึ้นมาล้างในน้ำเย็น พักสะเด็ดน้ำไว้
3. ตั้งกระทะ ใส่เนยลงไป พอเนยละลาย ใส่หอมใหญ่และมะเขือลงไปผัดจนจนมะเขือเทศและหอมใหญ่สุกนิ่ม แล้วค่อยๆ เติมน้ำซุปลงไป
4. ใส่ซอสมะเขือเทศ ซอสปรุงรส พริกไทยผัด เกลือ ให้เข้ากันแล้วชิมรส ถ้ายังขาดหวานค่อยเติมน้ำตาลลงมา
5. เมื่อได้รสชาติที่ถูกใจแล้ว ใส่เส้นมะกะโรนี กุ้งลวกสุก ผัดให้เข้ากัน

บาร์บิคิวหมูและไก่

รูปภาพ

วัตถุดิบและสัดส่วน:

หมูสันใน 250 กรัม
2. เนื้อไก่ 250 กรัม
3. สับปะรด 1 ถ้วย
4. หอมหัวใหญ่ 1 ถ้วย
5. มะเขือเทศสีดา 10 ลูก
6. พริกหยวก 1 ถ้วย
7. พริกหวาน 1 ถ้วย
8. พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
9. เนยสด 1 ถ้วย
10. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
11. เกลือ 1 ช้อนชา
12. น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
13. ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ

 

เครื่องปรุง:

ส่วนผสมซอสบาร์บีคิว
1. ซอสพริก 1 ช้อนโต๊ะ
2. ซอสมะเขือเทศ 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา
4. มัสตาร์ด 1 ช้อนชา
5. กระเทียมสับละเอียด 2 กลีบ

 

ขั้นตอนการปรุง:

นำหมูและไก่มาหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ แล้วพักไว้
2. นำซอสพริก ซอสมะเขือเทศ น้ำตาลทราย มัสตาร์ด กระเทียมสับมาผสมเข้าด้วยกัน แล้วพักไว้
3. นำเนื้อหมู และเนื้อไก่ที่เตรียมไว้มาหมักเข้ากับพริกไทยป่น น้ำตาลทราย เกลือ น้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว หมักทิ้งไว้ 30นาที หรือ1 ชั่วโมง เพื่อให้เครื่องปรุงเข้าเนื้อได้ดี
4. นำเนื้อหมูและไก่ที่หมักเสร็จแล้วมาเสียบไม้สลับกับสับปะรด พริกหยวก พริกหวาน มะเขือเทศ จากนั้นนำมาย่างโดยใช้ไฟปานกลาง
5. ทาเนยลงบนบาร์บีคิวให้ทั่วขณะย่าง จากนั้นทาซอสที่เตรียมไว้มาทาทับให้ทั่วอีกครั้ง ย่างจนเนื้อหมูและไก่สุก
6. จัดใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ

 

เคล็ดลับ:

ไม่ควรหั่นเนื้อหมูและเนื้อไก่ให้มีชิ้นหนามากเกินไปเพราะจทำให้สุกยาก และไม่ควรใช้ไฟที่แรงเกินไปเพราะทำให้ผักไหม้ แต่เนื้อหมูยังไม่สุก

 

 

 

 รูปภาพรูปภาพ

 

รูปภาพรูปภาพ

-นำหมูและไก่มาหมัก

-สับปะรดและหัวหอมใหญ่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ พอเสียบไม้

-พริกหยวกและพริกหวาน

-เสียบไม้พักไว้ก่อนลงย่าง

ที่มา.http://th.openrice.com/recipe/detail.htm?recipeid=3

9 วิธี หยุดทรมาน จากอาการปวดศีรษะ (สุขภาพดี)

รูปภาพ

          เพราะอาการปวดศีรษะอยู่ใกล้ตัวเราทุกคน ยิ่งสาว ๆ คนไหนทำงานแบบลืมพักผ่อน รับรองว่าอาการปวดศีรษะจะมาเคาะประตูเยี่ยมเยือนบ่อยยิ่งกว่าบ่อยแน่นอน ยิ่งช่วงไหนทั้งพักผ่อนน้อย ทั้งเครียด และมีประจำเดือนแล้วล่ะก็ อาการปวดศีรษะจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น เสียจนยาแก้ปวดแทบจะเอาไม่อยู่เลยทีเดียว แต่อย่าเพิ่งกังวลเรามี 9 วิธี หยุดทรมานจากอาการปวดศีรษะมาฝาก

1. 6.30 น. : ออกกำลังกายรับวันใหม่

          การออกกำลังกายทุกวัน นอกจากจะช่วยให้คุณมีรูปร่างที่ดีและร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยป้องกันอาการปวดศีรษะอีกด้วย ผลการศึกษาจากอาสาสมัครชาวอเมริกันพบว่า คุณผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะต้องรบกับอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มากกว่าคุณผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า

2. 9.00 น. : กาแฟหนึ่งถ้วย อาจช่วยคุณได้

          หากคุณรู้สึกว่าอาการปวดศีรษะเริ่มจะมาถามหา การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน อย่างชาหรือกาแฟอาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เจโรเม่ ดิซอน (Jerome Dwxon) ผู้เชี่ยวชาญด้านบำบัดอาการปวดศีรษะ แนะนำว่าการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่อาจช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ ซึ่งในรายที่หยุดบริโภคสารคาเฟอีนแบบเฉียบพลัน จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นได้นั่นแสดงให้เห็นว่า สารคาเฟอีนมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปวดศีรษะจริง

3. 11.45 น. : บรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ

          เมื่อนั่งทำงานได้สักพักใหญ่ ๆ คุณคงจะเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณต้นคอที่จะรู้สึกตึงเป็นพิเศษ วิธีบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ คือคุณควรยืดตัวตรง เอียงหูไปทางไหล่ซ้ายและไหล่ขวาช้า ๆ ทีละข้างแล้วจึงมองขึ้นข้างบนสลับกับข้างล่าง ทำซ้ำแต่ละท่าประมาณ 4-5 ครั้งต่อ 1 เซ็ต และหาโอกาสทำให้ได้ 3 เซ็ต ใน 1 วัน

4. 13.00 น. : คลายเครียดระหว่างวันด้วยแสงสว่าง

          ใครจะรู้ว่าแสงสว่างในออฟฟิศมีผลต่ออาการปวดศีรษะเช่นกัน โดยเฉพาะแสงจากหลอดไฟที่สว่างไม่เพียงพอ หากคุณปรับแสงให้เหมาะสม จะช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ นอกจากนี้คุณควรเดินออกไปสูดอากาศภายนอกออฟฟิศบ้าง เพื่อพักสายตาให้คลายความเหนื่อยล้าจากการมองจอคอมพิวเตอร์ แต่หากแสงสว่างภายนอกจ้าเกินไป ก็อย่าลืมใส่แว่นกันแดดด้วยนะ

5. 15.00 น. : จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม ลดความปวดเมื่อย 

          ถ้าคุณต้องนั่งทำงานอยู่บนโต๊ะทั้งวัน ต้องแน่ใจว่าโต๊ะทำงานของคุณอยู่ในตำแหน่งที่จะไม่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ตำแหน่งที่ถูกต้องคือโต๊ะของคุณจะต้องสูงระดับหน้าอก แทนที่จะอยู่ในระดับเอวของคุณ เพราะการจัดวางโต๊ะในระดับนี้จะช่วยให้คุณไม่ต้องโน้มตัวมากจนเกินไป ทำให้นั่งสบายขึ้น และคุณควรพยายามนั่งหลังตรง ๆ ด้วย

6. 16.00 น. : ทานอาหารว่างที่มีประโยชน์

          ถ้าคุณมีแนวโน้มว่าจะปวดศีรษะ ควรทานอาหารว่างที่มีประโยชน์ เช่น อาหารว่างเพื่อสุขภาพ เพื่อช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และควรหลีกเลี่ยงอาหารปรุงสำเร็จที่มีส่วนผสมของผงชูรส ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ

7. 20.00 น. : วิตามินบีเสริม ลดความรุนแรงจากอาการปวดศีรษะ

          ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อไม่นานมานี้พบว่า การทานอาหารเสริมที่ประกอบไปด้วยวิตามินบีและโฟเลท (วิตามินในกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำได้) ช่วยลดความรุนแรงจากอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือไมเกรนได้อย่างมาก นักวิจัยเชื่อว่าการทานวิตามินจะช่วยลด Homocysteine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีผลต่อการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง

8. 21.00 น. : ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

          เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์นั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำหรือ Dehydration และอาการปวดศีรษะในวันรุ่งขึ้นซึ่งเกิดจากการเมาค้าง ภาวะร่างกายขาดน้ำนั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการปวดศีรษะ ดังนั้นการดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยให้คุณหายปวดศีรษะได้

9. 23.00 น. : นอนให้ครบ 8 ชั่วโมง ห่างไกลไมเกรน

          การนอนหลับพักผ่อนให้ครบ 8 ชั่วโมงจะช่วยป้องกันอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะการปวดศีรษะเรื้อรังได้ เพราะการพักผ่อนนอนหลับมีความเกี่ยวข้องกับอาการปวดศีรษะโดยตรง หากคุณพักผ่อนเพียงพอก็จะช่วยลดความถี่ในการปวดศีรษะลงได้

          กลยุทธ์สู้กับอาการปวดศีรษะทั้ง 9 ข้อที่คุณสามารถทำได้ตลอดทั้งวัน นอกจากจะช่วยให้อาการปวดศีรษะหนีหายไปแล้ว ยังทำให้คุณมีสุขภาพกายที่แข็งแรงและสุขภาพใจที่แจ่มใสอีกด้วย เรียกได้ว่าสุขภาพดีครบสูตรเลยทีเดียว

 

ที่มา.http://health.kapook.com/view7045.html